ผู้เข้าชม

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

แนวโน้มการใช้

แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากวิทยุเรียกตัว (pager) ซึ่งเป็นเครื่องรับข้อความ มาเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานด้านอื่นๆได้ นอกจากการพูดคุยธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่สามารถใช้ถ่ายรูป ฟังเพลง ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ บันทึกงานสั้นๆ โทรศัพท์บางรุ่นมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล (Personal Digital Assistant : PDA) ซึ่งสามารถเชื่อต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังมีหน้าจอแบบสัมผัส ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น บางรุ่นมีอุปกรณ์สไตลัส (stylus) คือใช้ปากกาป้อนข้อมูลทางหน้าจอ บางรุ่นสามารถสั่งการด้วยเสียง ตัวอย่างอุปกรณ์สื่อสารและสารสนเทศแบบพกพา ดังรูปที่ 1.23

รูปที่ 1.23 ตัวอย่างอุปกรณ์สื่อสารและสารสนเทศแบบพกพา
วิทยุเรียกตัว ( Pager ) โทรศัพท์เคลื่อนที่ ( Mobile Phone )
เครื่องช่วยงานส่วนบุคคล ( PDA )
ในอนาคตอันใกล้ มนุษย์จะมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยใช้กันมากขึ้น นอกเหนือจากการพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านอินเทอร์เน็ต มนุษย์สามารถพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถติดต่อกันได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลง สามารถส่งข้อความ ภาพ และเสียง ได้โดยง่ายดาย สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังค้นหาข้อมูลด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วยเว็บรุ่นที่สาม ( Web 3.0 ) แทนที่จะเป็นการใช้คำหลักเหมือนดังที่ใช้ในปัจจุบัน ตัวอย่างการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นใหม่ ดังรูปที่ 1.24
รูปที่ 1.24 ตัวอย่างการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นใหม่
ดังนั้นอุปกรณ์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคตมีแนวโน้มเป็นดังนี้คือ มีขนาดเล็กลง พกพาได้ง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น เก็บข้อมูลได้มากขึ้น ประมวลผลได้เร็วขึ้น ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น โดยมีการผนวกอุปกรณ์หลายๆอย่างไว้ในเครื่องเดียว ( all-in-one ) ที่รูปที่ 1.25 ตัวอย่างอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคต
สำคัญอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้งานง่ายขึ้น รวมถึงสามารถสั่งงานด้วยเสียงได้ นอกจากนี้ ยังมีระบบ
รักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้น โดยอาศัยลายนิ้วมือหรือจอม่านตา แทนการพิมพ์รหัสแบบในปัจจุบัน
ตัวอย่างอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคต ดังรูปที่ 1.25
ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตมักเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงเพียงชุดเดียว ( stand alone ) ดังรูปที่ 1.26 
ต่อมามีการเชื่อต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร เพื่อทำให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน จนเกิดเป็นระบบรับและให้บริการ หรือเรียกว่าระบบรับ-ให้บริการ ( client-server system ) โดยมีเครื่องให้บริการ ( server ) และเครื่องรับบริการ
 ( client )รูปที่ 1.26 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงเพียงชุดเดียว(standalone)
การให้บริการบนเว็บก็นำหลักการของระบบรับ-ให้บริการมาใช้ช่วยให้การทำงานง่าย สะดวกรวดเร็ว เพราะสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีเว็บเซิร์ฟเวอร์ (webserver ) เป็นเครื่องให้บริการ ดังรูปที่ 1.27
รูปที่ 1.27 การใช้บริการบนเว็บโดยใช้หลักการของระบบรับ-ให้บริการ 
(client-server system )
เมื่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างแพร่หลาย การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยตรง โดยที่เครื่องให้บริการมีหน้าที่เพียงแค่เก็บตำแหน่งของเครื่องผู้ใช้งานที่มีข้อมูลนั้นๆอยู่ เพื่อให้เครื่องอื่นสามารถทราบที่อยู่ที่มีข้อมูลดังกล่าว และเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ เรียกระบบแบบนี้ว่าเครือข่ายระดับเดียวกัน ( Peer-to-Peer network: P2P network ) ดังรูปที่ 1.28
รูปที่ 1.28 เครือข่ายระดับเดียวกัน(Peer-to-Peer network: P2P network )
ปัจจุบันมีการใช้แลนไร้สาย(wireless LAN) ในสถาบันการศึกษา และองค์กรหลายแห่ง การให้บริการแลนไร้สาย หรือ (Wi-Fi) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านขายเครื่องดื่ม หรือห้องรับรองของโรงแรมใหญ่ ภายใต้ความร่วมมือของผู้ให้บริการ ทำให้นักธุรกิจสามารถดำเนินธุรกรรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายได้ หรือบางรายอาจซื้อบริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านทางโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีติดตามตำแหน่งรถด้วยจีพีเอส ( Global Positioning System: GPS ) กับรถแท็กซี่เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้โดยสารและผู้ขับรถ ดังรูปที่ 1.29
รูปที่ 1.29 ตัวอย่างการใช้งานระบบเครือข่ายแบบไร้สาย
ด้านเทคโนโลยี ระบบทำงานอัตโนมัติที่สามารถตัดสินใจได้เองจะเข้ามาแทนที่มากขึ้น เช่น ระบบแนะนำเส้นทางจราจร ระบบจอดรถ ระบบตรวจหาตำแหน่งของวัตถุ ระบบควบคุมความปลอดภัยภายในอาคาร ระบบทำงานอัตโนมัติเช่นนี้ อาจกลายเป็นระบบหลักในการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ โดยเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ มีการเชื่อมต่อเครือข่ายอย่างกว้างขวางไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างระบบจอดรถอัตโนมัติ ดังรูปที่ 1.30
รูปที่ 1.30 ตัวอย่างระบบจอดรถอัตโนมัติ
ระบบควบคุมไฟจราจรอัตโนมัติ

เกร็ดน่ารู้
ระบบประเมินและรายงานสภาพจราจรแบบทันที หรือระบบทราฟฟี่ ( Traffy ) พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC ) สามารถช่วยในการวางแผนก่อนออกเดินทางและตรวจสอบสภาพจราจรขณะเดินทางเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ติดขัด โดยสามารถใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่

พีเอ็นดี ( Personal Navigation Device: PND )เป็นอุปกรณ์เพื่อช่วยในการนำทาง เสมือนผู้นำทางบนท้องถนนเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ค้นหาเส้นทางไปยังจุดหมายได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว หรือช่วยบริการเส้นทางการเดินทาง นอกจากนี้ยังสามารถรายงานสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางได้อีกด้วย 
เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification: RFID ) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุเพื่อระบุเอกลักษณ์ของวัตถุ ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักสองส่วน คือ ป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ ( electronics tag )และเครื่องอ่าน ( reader ) ตัวอย่างเช่น ในห้างสรรพสินค้ามีป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ติดอยู่ที่สินค้าแต่ละชนิด และมีเครื่องอ่านติดอยู่ที่ประตูทางออก หรือจุดชำระเงิน เมื่อต้องการชำระเงินค่าสินค้า พนักงานจะใช้เครื่องอ่าน อ่านราคาสินค้าจากป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะทราบราคาสินค้าหรือถ้าลืมชำระเงินแล้วเดินผ่านประตู เครื่องอ่านก็จะส่งสัญญาณเตือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น