ผู้เข้าชม

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่6

1.อินเทอร์เน็ต(Internet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ :  อินเทอร์เน็ต (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า International network หรือ Inter Connection  network หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมโยงด้วย TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เดียวกันเป็นข้อกำหนด เพื่อให้เกิดการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน วิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายด้วยโปรโตคอลนี้จะ ช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้

2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ: เป็นขุมคลังสำคัญอันมหิมาของสารสนเทศ
      :มีข่าวสารข้อมูลใน Internet ให้เข้าถึงได้แบบ online/สามารถเข้าถึงสารสนเทศในเวลาใดเวลาหนึ่ง
       :เป็นแหล่งทรัพยากรสาร online ที่ใหญ่ที่สุดก็คือ encyclopedia ที่ใครก็สามารถเข้าถึงสารสนเทศ online ที่ได้ตามที่ต้องการ

3.จงบอกประโชยน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตอบ : -อินเตอร์เน็ต สามารถทำให้ให้เราค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่มีการอัพเด็ต มีความทันสมัย

เราใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร ในการอ่านข่าว และใช้ในการเรียนรู้ข้อมูลอื่นๆๆ ที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก
        -สามาถนำมาใช้ค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อการเรียนได้ง่ายขึ่น หรืออ่านข่าวสาร และทำธุกิจได้หลายอย่าง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว เช่น การส่ง e-mail แทนการส่งจดหมาย และทำให้เรารู้อะรได้มากมายบนโลกของเรา

4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร

ตอบ   ย่อมาจากคำ modulator - demodulator หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการสื่อสารติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในระยะไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ เป็นตัวกล้ำและแยกสัญญาณแอนะล็อก (analog) และดิจิทัล (digital) ความเร็วในการทำงานของโมเด็มมีตั้งแต่ 1,200, 2,400, 9,600 และ 14,400 การจะใช้โมเด็มนั้น ต้องใช้ซอฟต์แวร์ร่วมด้วย การรับข้อมูลจากระบบเครือข่ายก็ต้องมีโมเด็ม โมเด็มนั้นอาจจะทำติดมาอยู่ภายในตัวเครื่อง หรือนำมาติดเพิ่มภายหลังก็ได้

5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโชยน์อย่างไร

ตอบ 1.  สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้  ข้อมูลต่างๆในแต่ละเครื่องภายในระบบ  หากมีผู้อื่นต้องการใช้  คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลายๆฝ่ายนำไปใช้งานได้  ซึ่งก็จะช่วยทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูล ในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว

            2.  สามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้  เช่น เครื่องพิมพ์  สแกนเนอร์  ซิปไดร์ฟ  เป็นต้น  โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติดตั้งกับทุกๆเครื่อง  เช่นในบ้านคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 4 เครื่อง  อาจจะซื้อเครื่องพิมพ์มาเพียงตัวเดียวและแชร์เครื่องพิมพ์นั้นเพื่อใช้ร่วม กันได้


            3.  สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้  เช่น  ในห้อง LAB  คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวน คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน  30 เครื่อง  คุณสามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมกันได้  ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาด้วย

            4.  การสื่อสารในระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถเชื่อมกับเครื่องอื่นๆในระบบได้  เช่น  อาจจะส่งข้อความจากเครื่องของคุณไปยังเครื่องของคนอื่นๆได้  นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ E - Mail ส่งข้อความข่าวสารต่างๆภายในสำนักงานได้อีก  เช่น  แจ้งกำหนดการต่างๆแจ้งข้อมูลต่างๆให้ทุกๆคนทราบ  โดยไม่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกจ่าย  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

            5.  การแชร์อินเทอร์เน็ต  ภายในระบบเครือข่ายคุณสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ร่วมกันได้  โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องซื้อ Internet  Account สำหรับทุกๆเครื่องและไม่จำเป็นต้องติดตั้งโมเด็มทุกเครื่อง  ซึ่งก็จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก


            6. เพื่อการเรียนรู้ การที่คุณได้ทดลองใช้งานระบบเครือข่ายจะทำให้คุณสามารถเรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบเครือข่ายมากขึ้น
ทำให้คุณมีประสบการณ์ในระบบเครือข่ายมากขึ้นและจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย

6.จงยกตัวอย่างประโชยน์ของ E-mail


ตอบ       :      1. มีความสะดวกรวดเร็ว

                   2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
                   3. ไม่จำกัดระยะทาง
                   4. ไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล
                   5. ถ้าเราจะส่งอีเมล์ไม่ว่าจะตอนไหนก็ส่งได้ทุกเวลา
                   6. ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างหลากหลาย

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 7

1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
ตอบ :  1.ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น    LAN   (Local Area Network) 
      เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก   อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน   เช่น   ภายในมหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน
         2.ระบบเครือข่ายระดับเมือง  MAN  (Metropolitan Area Network)
      เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lanและ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล
          3. ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง   WAN    (Wide Area Network)
       เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย
2.อินทราเน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ : อินทราเน็ต
         อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน

3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ :     1.  http://www.google.co.th/
            2. http://www.youtube.com/
            3. http://dict.longdo.com

4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์Google พอสังเขป
ตอบ      1.เข้าไปที่www.google.co.th แล้วพิมพ์คำที่ต้องการลงไป ตัวอย่าง พิมพ์ ความหมายของอินเตอร์เน็ต ลงไป
               2. กดปุ่ม ค้นหา แล้วหาข้อมูลที่เราต้องการเลย
5.Digital library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ : Digital library แปล ว่าห้องสมุดดิจิทัลเป็นห้องสมุดที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูล อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full-text)ได้โดยตรง

6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทการศึกษา
ตอบ :        http://www.rd.go.th
                http://www.ect.go.th/thai/
                http://www.lib.ru.ac.th/webtoday/free-ecards1.html
                http://www.belovedking.com
                www.lib.ru.ac.th/queen72/

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 8

1.ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
   
     1.1 การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร 

ตอบ : คิดว่าการนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือ ศึกษาในเรื่องนั้นๆ ก่อนจะนำมาเสนอในรูปแบบต่างๆ จะต้องอาศัยทั้งความรู้ตลอดจนทักษะของผู้เรียน และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ชม เข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ และเพื่อให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
   
      1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ 1) การดึงดูดความสนใจ  
                    โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อ สายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจขึ้น เมื่อชมการนำเสนอ ดังนั้นการเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น สีพื้น แบบ สี และขนาดของตัวอักษร รูปประกอบ ต้องเหมาะสม สวยงาม
          2) ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา 
                    ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้อง การสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบ มีประโยชน์มาก ดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า "A picture is worth a thousand words" หรือ "ภาพภาพหนึ่งนั้นมีค่าเทียบเท่ากับคำพูดหนึ่งพันคำ"  แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์ อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ จึงควรตอบคำถาม ให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไรและภาพที่เลือกมานั้น สามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่
         3) จัดหาเครื่องมือตามความต้องการของซอฟต์แวร์
               ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีความสามารถไม่เหมือนกัน ขนาดของโปรแกรมก็ไม่เท่ากัน ทำให้ความต้องการของฮาร์ดแวร์ในการทำงานตามโปรแกรมนั้นแตกต่างกัน ในคู่มือการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นจะบอกข้อกำหนดของฮาร์ดแวร์ที่ ต้องการสำหรับการใช้งานไว้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง เราจะต้องจัดหาฮาร์ดแวร์ให้ได้ตามข้อกำหนดนั้นเพื่อให้สามารถใช้งาน ซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ส่วนใหญ่สามารถนำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มาตรฐานที่มีขายทั่วไปได้เลย ยกเว้นอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์ที่อาจเลือกได้ตามความต้องการว่าเป็น เครื่องพิมพ์สีขาว/ดำ หรือหลายสี จอภาพจะใช้ขนาดใหญ่กี่นิ้ว หรือฮาร์ดดิสก์ที่อาจต้องดูขนาดความต้องการว่าซอฟต์แวร์มีขนาดเท่าใด และฮาร์ดดิสก์จะพอใช้หรือไม่ เพราะในไมโครคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องนั้นเรามักจะบรรจุโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ ไว้หลายชนิด และปริมาณแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิมอาจมากจนกระทั่งพื้นที่ที่เหลือไม่เพียงพอ ต่อการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปใหม่นั้น
           4 ) การใช้งานโปรแกรม
               ในการใช้งานนั้น นอกาจากผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจการทำงานของฮาร์ดแวร์ว่าใช้งานอย่างไรแล้ว รายละเอียดการใช้งานซอฟต์แวร์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนการใช้งาน ส่วนใหญ่จะศึกษาจากคู่มือของโปรแกรมสำเร็จรูปนั้นเพื่อความเข้าใจในความ สามารถก่อน ปกติแล้วคู่มือการใช้งานมาจากเจ้าของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ซึ่งมักจะอธิบายถึงความสามารถตามฟังก์ชั่นที่มีอยู่ แต่มักจะไม่ค่อยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ผู้ใช้ต้องทดลองเอง จึงได้มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในโปรแกรมนั้น ๆ ทำคู่มือการใช้งานในลักษณะการประยุกต์ มีตัวอย่างของงานแสดงให้เห็น ทำให้สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้นและในปัจจุบันนี้มีการทำคู่มือการใช้งาน ในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ทำเป็นซีดีการใช้งาน เป็นต้น ฉะนั้นผู้ใช้งานที่ยังไม่มีประสบการณ์จึงควรเรียนรู้จากคู่มือการใช้งาน ทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

        1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ : การนำเสนอผลงาน มี 2 รูปแบบ
          การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้มีผู้ชมมีส่วนร่วม ผู้บรรยายสามารถปรับบรรยากาศให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้นได้
          การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัย การมีส่วนรวมของผู้ชม สามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟังแต่ไม่สามารถปรับบรรยากาศให้ เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น


1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ :
สื่อนำเสนอ ที่สร้างไว้ ในหัวข้อนี้จะขอแบ่งเครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอไว้ 2 ยุคดังนี้
                 1. ก่อนยุคคอมพิวเตอร์ การนำเสนอมักจะใช้เครื่องมือ 2 ชนิดคือ
                                1.1 เครื่องฉายสไลด์ (Slide projector) การใช้งานค่อนข้างจะยุ่งยาก เนื่องจาก ต้องใช้กล้องถ่ายรูปใส่ฟิล์มพิเศษที่ล้างออกมา แล้วเป็นภาพสำหรับฉายโดยเฉพาะและต้องนำ ฟิล์มมาตัดใส่กรอบพิเศษจึงนำมาเข้าเครื่องฉาย ได้ ข้อดี การฉายสไลด์จะได้ภาพที่สวยงาม และ ชัดเจน ข้อเสีย ต้องฉายในห้องที่ค่อนข้างมืด
                                1.2 เครื่องฉายแผ่นใส (Overhead projector) 00 เป็นเครื่องที่ใช้งานทั่วไปได้มากกว่าแผ่นใสที่ใช้ ตามปกติจะมีขนาดประมาณ 8 นิ้วคูณ 10 นิ้ว และมี สองแบบคือ แบบที่ใช้ปากกา(พิเศษ)เขียน กับแบบ ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร
                  2. ยุคคอมพิวเตอร์ เมื่อมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ (ปัจจุบัน) เครื่องมือในการนำเสนอผลงาน ก็เปลี่ยนไป เครื่องมือหลักที่ใช้ก็คือ

                                2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์
                                2.2 เครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ (Data projector)
                                2.3 เครื่องฉายภาพ 3 มิติ สรุปแนวคิดการออกแบบสื่อนำเสนอข้อมูล

        หนึ่งความคิดต่อหนึ่งสไลด์ไม่นำแนวคิดหลายแนวมาใส่ในสไลด์เดียวในแต่ละสไลด์ ควรมีหัวเรื่องประกอบเนื้อหาในแต่ละสไลด์ ไม่ควรเกิน 7 – 8 บรรทัดเลือกใช้สีตัวอักษร สีภาพ และสีพื้นสไลด์ที่เหมาะสมข้อความภาษาอังกฤษ ควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ผสมตัวพิมพ์เล็กจัดลำดับเนื้อหาให้เหมาะสม ตรวจสอบเนื้อหามีความถูกต้องเลือกใช้ Effect ที่เหมาะสมกับผู้ชม ผู้ฟังหลีกเลี่ยงการใช้สีแดง เขียว หรือเทาไม่ควรเลือก Effect มากกว่า 3 ลักษณะในแต่ละสไลด์ภาพที่นำมาใช้ประกอบ ควรเป็นแนวนอนจะเหมาะสมกว่าแนวตั้งเตรียมสื่อไว้หลากหลายรูปแบบควรระบุที่มา ของเอกสารอ้างอิงให้ชัดเจน

1.5 รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ :  รูปแบบการนำเสนอ ปัจจุบันมี 3 รูปแบบ 
          1. การนำเสนอแบบ Slide Presentation มี 3 รูปแบบ
             1.1 โดยใช้โปรแกรม PowerPoint  เป็นโปรเเกรมในการนํา เสนอได้ในหลายรูปเเบบ  ไม่ว่าจะเป็นนําเสนอ เเบบเป็นอักษร ภาพ หรือเสียง โดยตัวโปรเเกรมนั้นสามารถนําสื่อเหล่านี้มาผสมผสานได้ อย่าบงลงตัวเเละมีประสิทธิภาพมากที่สุด  
               ลักษณะการของโปรเเกรม Power Point   การทํางานในรูปของภาพนิ่ง (slide) คือเเผ่นเอกสารเดี่ยวๆที่เเสดงสิ่งต่าง ๆ ตัวอักษร กราฟตาราง รูปภาพ หรืออื่นๆ เเละสามารถเเสดงไลด์ลงบนแผ่นกระดาษหรือเครื่องฉานข้ามศีรษะ   หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์  หรือเครื่องฉาย
             1.2 โดยใช้โปรแกรม ProShow Gold  คือ โปรแกรมสำหรับเรียงลำดับภาพเพื่อนำเสนอแบบมัลติมีเดีย ที่มีความสามารถสร้างผลงานได้ในระดับมืออาชีพ ด้วยเทคนิคพิเศษมากมาย ใช้งานง่าย เหมาะสมต่อการนำเสนอสื่อ การเรียนการสอน การแนะนำอัตชีวประวัติ สามารถเขียนชิ้นงานออกมาในรูปแบบของวีซีดีได้อย่างรวดเร็ว เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างแผ่นวีซีดีจากรูปภาพต่าง ๆ ที่ทำงานได้รวดเร็ว โดยสามารถทำการใส่เสียงเพลงประกอบได้ด้วย และสามารถแปลงไฟล์เป็นไฟล์ต่าง ๆ ได้ เช่น VCD ,DVD หรือ EXE ฯลฯ ภาพที่ได้จัดอยู่ในคุณภาพดี ซึ่งโปรแกรมอื่นจะใช้เวลาในการทำงานนานพอสมควร
              1.3 โปรแกรม Flip Album เป็นโปรแกรมลักษณะโปรแกรม สำเร็จรูปโดยโปรแกรมที่นิยมสร้างอีบุ๊คหรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมาย คือ มีการชื่อมโยงกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆได้และมีบราวเซอร์ที่ทำ หน้าที่ดึงข้อมูลมาแสดงให้ตามที่ต้องการเหมือนอินเตอร์เน็ตทั่วไป หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวและแบบทดสอบและสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่อง พิมพ์ได้และสามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา

        2. รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน( CAI =Computer Assisted Instruction) คือ โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีหน้าที่เป็นสื่อการสอนเหมือนแผ่น สไลด์หรือวิดีทัศน์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายในเวลาจำกัดและตรงตามจุดประสงค์ของบทเรียนนั้นๆ โดยมีการใช้โปรแกรมที่นำมาสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2 รูปแบบ ได้แก่
            2.1การใช้โปรแกรม Authorware เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่นิยมนำมาสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมากที่สุด เพราะเนื่องจากว่าเข้าใจง่าย มีการเขียนโปรแกรมที่ใช้ง่าย
            2.2การใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ Moodle(Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented  Dynamic Learning Environment) คือระบบการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ให้มีบรรยากาศเหมือนเรียนในห้องเรียน หรือระบบจัดคอร์สการเรียนการสอน ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษาหรือผู้สอน

        3.รูปแบบ Social Network หมายถึง สังคมออนไลน์ที่จะช่วยหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ สามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมาและได้ทำความรู้จักกับเพื่อนๆคนอื่นๆ และยังสามารถแนะนำตัวเองได้ เช่น Hi5,Bkog,Facebook เป็นต้นและมีรูปแบบ Social Network 3รูปแบบ ได้แก่
             3.1การใช้เว็บบล็อกเพื่อการเรียนการสอน  Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก
             ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
              จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง          
           3.2 การนำเสนอแบบ Web page หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งาน โดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอพเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วย โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเพจ เช่น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver , PHP & MySQL , Flash Professional เป็นต้น
            3.3  Word press
             Wordpress คือโปรแกรมชนิดหนึ่ง?ที่มีระบบในการช่วยจัดการเนื้อหาบนเว็บ ได้อย่างง่ายดาย หรือที่หลายๆ คนใช้คำว่า Contents Management System (CMS) ซึ่งจริงๆ แล้ว โปรแกรมประเภท CMS มีเยอะแยะ อย่างเช่น PHP Nuke, Joomla, Mambo, OScommerce, Magento เป็นต้น
             Wordpress เป็น CMS ประเภท Blog ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยภาษา PHP และทำงานบนฐานข้อมูล MySQL ภายในสัญญาอนุญาตใช้งานแบบ?General Public License?(GNU) มีเวปไซต์หลักอยู่ที่ http://www.wordpress.org? และมี free hosting สำหรับขอรับบริการฟรีที่ http://www.wordpress.com
              Wordpress เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย สำหรับคนที่ต้องการมีบล็อกส่วนตัว เป็นที่โปรแกรมที่นิยมกันทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยเราด้วยเ นอกจากการติดตั้งง่ายแล้ว Wordpress ยังมีข้อดีก็คือ เราสามารถหาดาวน์โหลดธีม (Themes) หรือหน้าตาของเว็บรูปแบบต่างๆ

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

ความหมายของ ICT

ความหมายของเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)

Information and Communication Technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง
          เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (ความ หมายตามที่ให้ไว้ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความจำเป็น ต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ “กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร-Ministry of Information and Communication Technology” หรือกระทรวงไอซีที-ICT
         
       เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) , ไอ ที (IT) หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร (information and communications technology) , ไอซีที (ICT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผล สารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง, แปลง, จัดเก็บ, ประมวลผล, และค้นคืนสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (ครูนายู ลา : 2008)
จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกผ่านกระบวนการต่างๆกลั่นกรองมาเป็นข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งเป็นทั้งเทคโนโลยีและการสื่อสาร อาจเรียกได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนับตั้งแต่ การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่






แนวโน้มการใช้

แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากวิทยุเรียกตัว (pager) ซึ่งเป็นเครื่องรับข้อความ มาเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานด้านอื่นๆได้ นอกจากการพูดคุยธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่สามารถใช้ถ่ายรูป ฟังเพลง ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ บันทึกงานสั้นๆ โทรศัพท์บางรุ่นมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล (Personal Digital Assistant : PDA) ซึ่งสามารถเชื่อต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังมีหน้าจอแบบสัมผัส ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น บางรุ่นมีอุปกรณ์สไตลัส (stylus) คือใช้ปากกาป้อนข้อมูลทางหน้าจอ บางรุ่นสามารถสั่งการด้วยเสียง ตัวอย่างอุปกรณ์สื่อสารและสารสนเทศแบบพกพา ดังรูปที่ 1.23

รูปที่ 1.23 ตัวอย่างอุปกรณ์สื่อสารและสารสนเทศแบบพกพา
วิทยุเรียกตัว ( Pager ) โทรศัพท์เคลื่อนที่ ( Mobile Phone )
เครื่องช่วยงานส่วนบุคคล ( PDA )
ในอนาคตอันใกล้ มนุษย์จะมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยใช้กันมากขึ้น นอกเหนือจากการพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านอินเทอร์เน็ต มนุษย์สามารถพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถติดต่อกันได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลง สามารถส่งข้อความ ภาพ และเสียง ได้โดยง่ายดาย สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังค้นหาข้อมูลด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วยเว็บรุ่นที่สาม ( Web 3.0 ) แทนที่จะเป็นการใช้คำหลักเหมือนดังที่ใช้ในปัจจุบัน ตัวอย่างการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นใหม่ ดังรูปที่ 1.24
รูปที่ 1.24 ตัวอย่างการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นใหม่
ดังนั้นอุปกรณ์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคตมีแนวโน้มเป็นดังนี้คือ มีขนาดเล็กลง พกพาได้ง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น เก็บข้อมูลได้มากขึ้น ประมวลผลได้เร็วขึ้น ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น โดยมีการผนวกอุปกรณ์หลายๆอย่างไว้ในเครื่องเดียว ( all-in-one ) ที่รูปที่ 1.25 ตัวอย่างอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคต
สำคัญอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้งานง่ายขึ้น รวมถึงสามารถสั่งงานด้วยเสียงได้ นอกจากนี้ ยังมีระบบ
รักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้น โดยอาศัยลายนิ้วมือหรือจอม่านตา แทนการพิมพ์รหัสแบบในปัจจุบัน
ตัวอย่างอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคต ดังรูปที่ 1.25
ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตมักเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงเพียงชุดเดียว ( stand alone ) ดังรูปที่ 1.26 
ต่อมามีการเชื่อต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร เพื่อทำให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน จนเกิดเป็นระบบรับและให้บริการ หรือเรียกว่าระบบรับ-ให้บริการ ( client-server system ) โดยมีเครื่องให้บริการ ( server ) และเครื่องรับบริการ
 ( client )รูปที่ 1.26 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงเพียงชุดเดียว(standalone)
การให้บริการบนเว็บก็นำหลักการของระบบรับ-ให้บริการมาใช้ช่วยให้การทำงานง่าย สะดวกรวดเร็ว เพราะสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีเว็บเซิร์ฟเวอร์ (webserver ) เป็นเครื่องให้บริการ ดังรูปที่ 1.27
รูปที่ 1.27 การใช้บริการบนเว็บโดยใช้หลักการของระบบรับ-ให้บริการ 
(client-server system )
เมื่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างแพร่หลาย การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยตรง โดยที่เครื่องให้บริการมีหน้าที่เพียงแค่เก็บตำแหน่งของเครื่องผู้ใช้งานที่มีข้อมูลนั้นๆอยู่ เพื่อให้เครื่องอื่นสามารถทราบที่อยู่ที่มีข้อมูลดังกล่าว และเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ เรียกระบบแบบนี้ว่าเครือข่ายระดับเดียวกัน ( Peer-to-Peer network: P2P network ) ดังรูปที่ 1.28
รูปที่ 1.28 เครือข่ายระดับเดียวกัน(Peer-to-Peer network: P2P network )
ปัจจุบันมีการใช้แลนไร้สาย(wireless LAN) ในสถาบันการศึกษา และองค์กรหลายแห่ง การให้บริการแลนไร้สาย หรือ (Wi-Fi) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านขายเครื่องดื่ม หรือห้องรับรองของโรงแรมใหญ่ ภายใต้ความร่วมมือของผู้ให้บริการ ทำให้นักธุรกิจสามารถดำเนินธุรกรรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายได้ หรือบางรายอาจซื้อบริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านทางโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีติดตามตำแหน่งรถด้วยจีพีเอส ( Global Positioning System: GPS ) กับรถแท็กซี่เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้โดยสารและผู้ขับรถ ดังรูปที่ 1.29
รูปที่ 1.29 ตัวอย่างการใช้งานระบบเครือข่ายแบบไร้สาย
ด้านเทคโนโลยี ระบบทำงานอัตโนมัติที่สามารถตัดสินใจได้เองจะเข้ามาแทนที่มากขึ้น เช่น ระบบแนะนำเส้นทางจราจร ระบบจอดรถ ระบบตรวจหาตำแหน่งของวัตถุ ระบบควบคุมความปลอดภัยภายในอาคาร ระบบทำงานอัตโนมัติเช่นนี้ อาจกลายเป็นระบบหลักในการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ โดยเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ มีการเชื่อมต่อเครือข่ายอย่างกว้างขวางไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างระบบจอดรถอัตโนมัติ ดังรูปที่ 1.30
รูปที่ 1.30 ตัวอย่างระบบจอดรถอัตโนมัติ
ระบบควบคุมไฟจราจรอัตโนมัติ

เกร็ดน่ารู้
ระบบประเมินและรายงานสภาพจราจรแบบทันที หรือระบบทราฟฟี่ ( Traffy ) พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC ) สามารถช่วยในการวางแผนก่อนออกเดินทางและตรวจสอบสภาพจราจรขณะเดินทางเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ติดขัด โดยสามารถใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่

พีเอ็นดี ( Personal Navigation Device: PND )เป็นอุปกรณ์เพื่อช่วยในการนำทาง เสมือนผู้นำทางบนท้องถนนเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ค้นหาเส้นทางไปยังจุดหมายได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว หรือช่วยบริการเส้นทางการเดินทาง นอกจากนี้ยังสามารถรายงานสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางได้อีกด้วย 
เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification: RFID ) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุเพื่อระบุเอกลักษณ์ของวัตถุ ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักสองส่วน คือ ป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ ( electronics tag )และเครื่องอ่าน ( reader ) ตัวอย่างเช่น ในห้างสรรพสินค้ามีป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ติดอยู่ที่สินค้าแต่ละชนิด และมีเครื่องอ่านติดอยู่ที่ประตูทางออก หรือจุดชำระเงิน เมื่อต้องการชำระเงินค่าสินค้า พนักงานจะใช้เครื่องอ่าน อ่านราคาสินค้าจากป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะทราบราคาสินค้าหรือถ้าลืมชำระเงินแล้วเดินผ่านประตู เครื่องอ่านก็จะส่งสัญญาณเตือน

ประโยชน์

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ


            การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศใน ปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่  และมีประสิทธิภาพ  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ
            1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์หรือ
                ในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
            2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
            3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก
            4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วย
                คำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ


           5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ
           6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
           7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมีทางเลือก
              ที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
           8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

 เทคโนโลยีสารนิเทศเบื้องต้นที่ควรนำมาใช้ในการดำเนินงานทั่วๆไป คือ

การใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูล

           ในบรรดาองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารนิเทศทั้งหมด  คอมพิวเตอร์   นับว่ามีบทบาทมากที่สุดต่อการเป็น องค์ประกอบที่สำคัญ คอมพิวเตอร์เป็น  อุปกรณ์สื่อสารนิเทศที่มีบทบาทอย่างมากต่อสังคมสารนิเทศ คอมพิวเตอร์  เปลี่ยนแปลงสภาพการให้บริการสารนิเทศในห้องสมุดจากการเสียเวลา  สืบค้นสารนิเทศหลาย ๆ นาที หรือหลายชั่วโมงมาเป็นเสียเวลา เพียงไม่กี่วินาที คอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคม  เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตที่มีบทบาทยิ่งกว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่มนุษย์ได้ผลิตขึ้นใช้ในโลกมาก่อน คนในสังคมสมัยสังคมสารนิเทศจะเห็น  พัฒนาการด้านนี้ได้อย่างเด่นชัด นับตั้งแต่มีการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก คอมพิวเตอร์ไม่ใช่เพียงสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น   แต่กลับเป็นสิ่งที่คนในสังคมสารนิเทศ ต้องรู้จักและมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นอุปกรณ์และองค์ประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารนิเทศ  ที่บรรณารักษ์จะต้องนำมาใช้อยู่ตลอดเวลา เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ ตั้งแต่ยุคแรก (พ.ศ.  2487-2501) จนถึงยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา) ได้มีการนำเครื่อง  คอมพิวเตอร์มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เช่น งานจัดการเอกสารข้อมูลแบบ ต่าง ๆ งานระบบสารนิเทศเพื่อการจัดการและงานด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นต้น และจากการแข่งขัน  ในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาถูก  และสามารถใช้กันอย่างแพร่หลาย  เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นในสังคมสารนิเทศ ปัจจุบัน

           ในสังคมสารนิเทศปัจจุบัน กล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท  ในชีวิตประจำวันของคนในสังคมมากยิ่งขึ้น บทบาทของคอมพิวเตอร์มีมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการสารนิเทศ  และสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสารนิเทศเพื่อใช้ประโยชน์ กับตนเองก็หลีกเลี่ยงการ ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ด้านอื่น ๆ ไม่ได้

บทบาทของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการใช้สารนิเทศในสังคมมีดังต่อไปนี้

ด้านการศึกษา

 


           การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา   และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน  การใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาเกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ซึ่งผู้บริหารการศึกษา จำเป็นต้องทราบสารนิเทศต่าง ๆ ทางด้าน นักศึกษา ด้านแผนการเรียน ด้านบุคลากร ด้านการเงิน และด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์  ข้อมูลแต่ละด้านที่ได้จากคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารการศึกษาสามารถนำมาใช้ช่วย ในการตัดสินใจได้ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน  เป็นการช่วยให้ครูใช้ความรู้ ความสามารถพิเศษให้เป็นประโยชน์แก่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น  การนำคอมพิวเตอร์เข้า มามีส่วนช่วยในการสอน  และการศึกษามีประโยชน์ในเรื่องดังต่อไปนี้  คือ

                1. เพื่อการสอนแบบตัวต่อตัว
                2. เพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ในการเรียน
                3. เพื่อการสาธิต
                4. เพื่อการเล่นเกมและสถานการณ์จำลอง
                5. เพื่อสอนงานด้านการเขียน
                6. เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน
                7. เพื่อช่วยผู้เรียนที่มีปัญหาเฉพาะตัว

            ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์กำลังมีบทบาทต่อการศึกษาด้านภาษา เป็นเพราะว่าแต่เดิมมานั้น   คอมพิวเตอร์มีบทบาท เฉพาะการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ  ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในประเทศที่ใช้ ภาษาอังกฤษ แต่ในขณะนี้สังคมข่าวสารไม่ ได้สกัดกั้นในการรับรู้สารนิเทศในภาษาอื่น  ๆ   มีการสร้างโปรแกรม ภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน รัสเซีย สเปน และแม้แต่ภาษาทางด้านตะวันออก เช่น ภาษาอารบิค  จีน ฮิบรู ญี่ปุ่น เกาหลี การสร้างโปรแกรมภาษาต่าง ๆ จัดทำโดยผู้ที่รู้ภาษานั้น ๆ โดยตรง  หรือผู้ที่สนใจในการสร้าง โปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่น  การสร้างโปรแกรม การใช้ภาษาไทย หรือ ภาษาลาว ตลอดจนการใช้โปรแกรมภาษาพม่า  ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย วิศวกรไทย คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการขจัดปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจภาษาระหว่าง ชนชาติในอนาคต  ในประเทศสหรัฐอเมริกา  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีบทบาทในด้าน การศึกษา  มี  การใช้คอมพิวเตอร์ มากขึ้นในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา    มีการคาดหมายว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชั้นเรียน จาก 1:40 ในปี พ.ศ. 2529 เป็น 1 ต่อ 20 ภายในปี พ.ศ. 2533 คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ทางด้านการศึกษาได้ เป็นอย่างดีไม่เฉพาะแต่ภายในสถานศึกษาเท่านั้น  บริษัทเอกชนต่าง ๆ  สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของตน ให้ได้รับการศึกษา  หรือฝึกอบรมในงานหน้าที่ได้เป็นอย่าง ดีด้วย  การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษา จะเป็นเรื่องธรรมดาในระบบการศึกษาต่อไป

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

               คอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างสูงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข   คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวย ความสะดวก อย่างยิ่งในด้านการแพทย์ เริ่มตั้งแต่การรักษาพยาบาล ทั่ว ๆไป โรงพยาบาลบางแห่งใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำทะเบียนคนไข้ ตลอดจนการวินิจฉัย และรักษาโรคต่าง ๆ   จากการใช้ประโยชน์ของสารนิเทศที่ได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอาจเกี่ยวข้องในด้านต่อไปนี้ คือ  ด้านการ รักษาพยาบาลทั่วไป  ด้านการบริหารการแพทย์ ด้านห้องทดลอง ด้านตรวจวินิจฉัยโรค  และด้านการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์ การใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้านการแพทย์และ สาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันคือ ด้านวินิจฉัยโรคและด้านการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์    นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถค้นคว้าข้อมูลทาง การแพทย์เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เป็นการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุข อย่างไม่หยุดยั้ง  คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรค  สำหรับทำการรักษา ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น   ในวงการแพทย์เริ่มรู้จักใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ เรียกว่า  อีเอ็มไอสแกนเนอร์  (EMI Scanner) เมื่อปี พ.ศ. 2515 เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจดูเนื้อ งอก  พยาธิ เลือดออกในสมองและความผิดปกติอื่น ๆ ในสมอง ต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่าซีเอที (CAT-Computerized Axial Tomographic Scanner) มีวิธีการฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบ  ๆ ร่างกายของมนุษย์ที่ต้องการ ถ่ายเอกซเรย์และเครื่องรับแสงเอ็กซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอกซเรย์ ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าไปเก็บไว้ในจาน หรือแถบแม่เหล็ก แล้ว นำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเ ตอร์ ซึ่งเมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาก็นำไป เก็บในส่วนความจำ และพิมพ์ภาพออกมาหรือแสดงเป็นภาพทางจอโทรทัศน์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงเป็นตัวอย่าง ของการใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยและรักษาโรค

ด้านอุตสาหกรรม


            คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม   โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ เพื่อใช้ในบ้านและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้งนี้หุ่นยนต์จะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบการทำงานของอวัยวะ ส่วนบนของมนุษย์   ประกอบด้วยระบบทางกลของหุ่นยนต์ และระบบควบคุมหุ่นยนต์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม ซึ่งควบคุมการทำงานของ หุ่นยนต์โดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ นับเป็นส่วนสำคัญที่สุดของหุ่นยนต์ ระบบควบคุมนี้ทำหน้า ที่เป็นสมองเก็บข้อมูลสั่งหุ่นยนต์ ให้ทำงานตรวจสอบและควบคุมรายละเอียดของการทำงาน ให้ถูกต้อง  การประดิษฐ์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอำนวยประโยชน์ในการช่วยทำงานใน อุตสาหกรรมที่สำคัญคือ   งานที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  เช่น โรงงานยา ฆ่าแมลง โรงงานสารเคมี  ง านที่ต้องการความละเอียด ถูกต้อง และรวดเร็ว เช่น โรงงาน ทำฟันเฟืองนาฬิกา โรงงานทำเลนส์กล้องถ่ายรูป  และงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ  และ น่าเบื่อหน่าย  เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานประกอบวงจรเบ็ดเสร็จ หรือไอซี และโรงงานทำแบตเตอรี่ เป็นต้น การประดิษฐ์สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์บางอย่าง ในโรงงานอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อการ ควบคุม การผลิตสินค้าโดยไม่ต้องใช้แรงงานคนมาก    เป็นการประหยัดแรงงาน  นอกจากด้านการผลิตสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์ยังมีส่วนช่วยต่อการจัด ส่งสินค้า  ตามใบสั่งสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า เป็นต้น

ด้านเกษตรกรรม

             การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การจัดทำระบบ ข้อมูลเพื่อการเกษตร ซึ่งอาจมีทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ สำหรับระดับ นานาชาตินั้น   อาจจะเริ่มด้วย สำมะโนเกษตรนานาชาติ ซึ่งสถาบันการเกษตรระหว่างประ เทศ (International Institute of Agriculture) ได้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2473โดยมีประเทศต่าง  ๆ ร่วมเก็บข้อมูล รวม 46 ประเทศ ต่อมาองค์การอาหารและเกษตร(FAO)  ได้ดำเนินงานต่อในปี พ.ศ. 2493 และมีประเทศต่าง ๆ ร่วมโครงการเพิ่มเติมมากขึ้น  ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ข้อมูลเพื่อเกษตรกรรมทางด้านสำมะโนเกษตร    นอกจากนี้ยังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำแบบจำลอง พยากรณ์ความต้องการ พยากรณ์ผลผลิตด้าน การเกษตร เป็นต้น

ด้านการเงินการธนาคาร

            การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินและการธนาคาร เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา  ช่วยในงานด้านการบัญชี และด้านการบริหาร  การฝากถอนเงิน  การรับจ่าย การโอนเงิน แบบอิเล็กทรอนิกส์  การหักบัญชีอัตโนมัติ ด้านสินเชื่อ ด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าว สารการธนาคาร บริการฝากถอนเงินนอกเวลาและบริการอื่น ๆ การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่ประชาชนรู้จักและใช้กันอย่างแพร่ หลาย  ได้แก่  บริการฝากถอนเงินนอกเวลา ซึ่งมีใช้กันทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ไทย  ซึ่งเรียกชื่อว่า  บริการเงินด่วน  หรือบริการเอทีเอ็ม ( Automatic Teller Machine - ATM ) ที่ธนาคารต่าง ๆ สามารถให้บริการเงินด่วนแก่ลูกค้าได้ ทำให้เกิด ความสะดวกรวดเร็วต่อการใช้เงินในการดำเนินงานทางธุรกิจต่างๆ ได้

ด้านธุรกิจการบิน


             ธุรกิจสายการบินมีความจำเป็นต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้  เพื่อให้สามารถให้บริการได้รวดเร็ว  เพื่อการแข่งขันกับ สายการบินอื่น ๆ และเพื่อรักษาความปลอดภัยในการบินโดยช่วยตรวจสอบสภาพเครื่องและอุปกรณ์ได้ อย่างถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ   ธุรกิจที่มีการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้ด้านการบิน  อาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ผู้โดยสาร สินค้าพัสดุภัณฑ์ และ บริการอื่น ๆ ของสายการบิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือระบบบริการผู้โดยสาร อาจจะ เริ่มด้วยระบบบันทึกตารางการบิน ซึ่งบันทึกและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลเที่ยวบิน เส้นทางบิน เวลาออกและเวลาถึง จำนวนที่นั่ง สารนิเทศด้านการบริการผู้โดยสารมีความสำคัญอย่างมาก  และจำเป็นต้องได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว  โดยปราศจากปัญหาทางด้านเวลา  และสถานที่  รายการบินต่าง ๆ จึงได้แข่งขันในการสร้างฐานข้อมูล ทางด้านนี้ บางสายการบินได้รวมตัวกัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้สารนิเทศร่วมกัน

ด้านกฎหมายและการปกครอง

             ทางด้านกฎหมายและการปกครอง มีการใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาด้านกฎหมาย  คืองานระบบข้อมูล ทางกฎหมายมีการนำสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายทุกฉบับ รัฐธรรมนูญทุกฉบับ  กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา  กฎกระทรวงประกาศต่างๆและอื่น ๆ เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จะ ช่วยในการค้นสารนิเทศทางด้านกฏหมายได้อย่างรวดเร็ว  ดังตัวอย่างในประเทศ สหรัฐอเมริกา มีการใช้คอมพิวเตอร์ระบบแอสเปน (Aspen System Corporation) ซึ่งเป็นระบบข้อมูล ทางด้านกฎหมายที่ใช้กันมากกว่า  50 แห่ง นักกฎหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงได้ประโยชน์ในการ ค้นสารนิเทศในเวลา อันรวดเร็ว   โดยเฉพาะในการค้นข้อมูลเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น แล้ว เป็นต้น  แทนที่จะค้นจากหนังสือ ซึ่งต้องเสียเวลาเป็นอันมาก  การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการปกครอง ส่วนใหญ่ใช้ในกิจกรรมการเลือกตั้งดัง เช่นในประเทศไทย เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาล่าสุด มีการใช้คอมพิวเตอร์มาประมวล ผลข้อมูลการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนได้ทราบผลการเลือกตั้งได้อย่างรวดเร็ว

ด้านการทหารและตำรวจ

            มีการใช้คอมพิวเตอร์ด้านการทหารและตำรวจ อย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆ  ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการทหารได้เจริญก้าวหน้าไปมากกว่า ประเทศอื่นใดในโลก    แต่ผลงานด้านนี้มักจะเป็น ผลงาน ชนิดลับสุดยอดต่าง ๆ เท่าที่พอจะ ทราบกัน  ได้แก่  การใช้คอมพิวเตอร์ในวงจรสื่อสารทหาร  ใช้ในการควบคุม ประสานงาน ด้านการท หารใช้แปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ    ใช้ในการผลิตระเบิดนิว เคลียร์  ใช้ในการทำสงครามจิตวิทยา  ใช้ในการวิจัยเตรียมทำสงครามเชื้อโรค  ใช้ในการสร้างขีปนาวุธ    และใช้ในการส่ง ดาวเทียม จารกรรม  เป็นต้น กรมตำรวจ กระทรวง มหาดไทย มีศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ  มีคอมพิวเตอร์ ขนาดกลางใช้ทำทะเบียนปืน ทำทะเบียนประวัติอาชญากรรม ทำให้เกิดความสะดวกต่อการสืบสวนคดีต่าง ๆ

ด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์และธุรกิจอื่น ๆ

              บทบาทของคอมพิวเตอร์ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมการพิมพ์ในปัจจุบันมีมาก หน่วยงานทางการพิมพ์  ตลอดจนสำนักข่าวใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดพิมพ์ต้นฉบับ ตรวจแก้ไข  จนกระทั่งจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ทำให้การจัดทำหนังสือพิมพ์ วารสาร และหนังสือต่าง ๆดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว และถึงมือผู้อ่านได้อย่างทันท่วงที อุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนี้ และเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ มีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่คนงานในประเทศ สหรัฐอเมริกากว่า 50  ล้านคน  ได้ใช้ประโยชน์จากการใช้คอมพิวเตอร์ ในการดำเนินงาน ทางธุรกิจ มีการใช้อุปกรณ์สื่อสารระบบสำนักงาน อัตโนมัติและเทคโนโลยีโทรคมนาคมอื่น ๆ ร่วมกับคอมพิวเตอร์ทำให้การดำเนินงานทาง ธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ไม่มีปัญหา ทางด้านระยะเวลา และสถานที่ต่อการติดต่อทางธุรกิจอีกต่อไป

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์มีมาก ในสถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันวิจัยต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์  เช่น  การวิจัยในทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสาร  การค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น  ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มีการใช้คอมพิวเตอร์ ให้มีส่วนร่วมต่อการออกแบบโครงสร้าง ทางวิศวกรรมที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน  ทำให้มีส่วนช่วยต่อการออกแบบ ทางด้านวิศวกรรมและ สถาปัตยกรรมได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด บทบาทของคอมพิวเตอร์ทางด้านวิทยาศาสตร์จึงมี ประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อมูลสารนิเทศอย่างไม่หยุดยั้ง

              จากการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลสารนิเทศโดยระบบโทรคมนาคมคอมพิวเตอร์  มีบทบาทอย่างสูง ต่อการให้บริการข้อมูลอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด    ผู้ใช้สารนิเทศสามารถเรียกค้นข้อมูลจากผู้ให้บริการ สารนิเทศตั้งแต่เรื่องทั่ว ๆไปจนกระทั่งขอค้นรายละเอียดจากหนังสือสารานุกรมได้  และภายในบ้านเรือน  คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการใช้ของสมาชิกภายในครอบครัวทุกคนภายในบ้าน  มีโอกาสได้เล่นเกมวีดิทัศน์ ด้วยความบันเทิงสนุกสนาน และ ศึกษาความรู้จากบทเรียนสำเร็จรูป ไปด้วยในตัว  คอมพิวเตอร์สำหรับบ้าน เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็น สำหรับนักธุรกิจในการจัดเตรียมจดหมาย การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสารนิเทศส่วนบุคคล และ การดำเนินงานกิจการต่าง ๆ ของสมาชิกภายในครอบครัว  บทบาทของคอมพิวเตอร์  ยังมีอีกมากมายทางด้านต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้สารนิเทศ ต้องการใช้ในด้านใด คอมพิวเตอร์เมื่อนำมาใช้รวมกับระบบโทรคมนาคมการสื่อสาร สามารถจะเปลี่ยนอนาคตของสังคมปัจจุบัน เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนต่อการทำ กิจกรรมต่าง ๆ  สิ่งที่บรรณารักษ์จะหลีกเลี่ยงต่อไปไม่ได้   คือการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูล ภายในห้องสมุดโรงเรียน นับตั้งแต่การนำมาใช้แทน เครื่องพิมพ์ดีดในขอบเขตของงานเอกสาร ตลอดจนกระทั่งถึงงานการให้บริการข้อมูลจากฐานข้อมูลสำเร็จรูป หรือ งานฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นเอง